สาเหตุการเกิดสิวเสี้ยน

สาเหตุของสิวเสี้ยน: สิวเสี้ยนเกิดได้อย่างไร

สิวเสี้ยน (Trichostasisspinulosa) คือความผิดปกติของต่อมรูขน (Pilosebaceous Follicles) โดยมีลักษณะคล้ายสิวอุดตันหัวดำ (Black Comedone) และมีกระจุกขนเล็ก ๆ หลายเส้น แทรกอยู่ในหัวสิวอุดตันนั้น จึงทำให้มีลักษณะเป็นจุดดำเล็ก ๆ บนใบหน้าหรืออาจมีหนามแหลมยื่นออกมาทางรูขุมขนจำนวนมาก มักจะพบและสังเกตเห็นได้ง่ายในบริเวณจมูก หน้าผาก ข้างแก้ม และบริเวณคาง สิวเสี้ยนที่มักพบเห็นได้บ่อยมีอยู่ 2 แบบ คือ

สิวเสี้ยนหัวขาว เกิดจากไขมัน (sebum) รวมตัวกับเศษเซลล์ผิวที่ตายแล้ว เกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขน สามารถพบได้ตามบริเวณที่มีความมันมาก ๆ เช่นบริเวณทีโซน (T-Zone หน้าผาก จมูก คาง) และบริเวณข้าง ๆ จมูก เป็นต้น

สิวเสี้ยนหัวดำ เกิดจากการมีขนเส้นเล็ก ๆ ตั่งแต่ 5-50 เส้น รวมกันอยู่ในรูขุมขนเดียวกัน ทำให้เห็นรูขุมขนกว้าง และสังเกตเห็นจุดดำ ๆ โผล่ขึ้นมาจากผิว

สาเหตุการเกิดสิวเสี้ยน

สาเหตุของการเกิดสิวเสี้ยนนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่แพทย์เชื่อว่าอาจเกิดจาก

1. การสร้างเซลล์ขนมากผิดปกติ ทำให้มีขนเกิดขึ้นจำนวนมากกว่าปกติในรูขุมขนเดียว โดยปกติแล้ว 1 รูขุมขนจะมีขนเกิดขึ้นเพียง 1–4 เส้น แต่หากเป็นสิวเสี้ยน เส้นขนอาจเกิดขึ้นมากถึง 5–25 เส้นภายในรูขุมขนเดียว เส้นขนที่สร้างขึ้นผิดปกตินั้น เกิดการเกาะรวมตัวกับเคราตินไขมัน รวมถึงเซลล์ผิวหนังที่ถูกผลัดออกมาจากรูขุมขน เกิดเป็นกลุ่มขนสีดำขนาดเล็กโผล่พ้นขึ้นมาจากผิวเล็กน้อย

2. เกิดการอุดตันที่ท่อต่อมไขมันหรือต่อมไขมันมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ทำให้มีการผลิตไขมันออกมาสู่ผิวจำนวนมาก จึงเกิดการอุดตันในรูขุมขน และไขมันที่ถูกสร้างขึ้นนั้นจะรวมตัวกับเซลล์ในชั้นขี้ไคลจากผนังท่อ กลายเป็นก้อนที่เรียกว่า “คอมีโดน” (Comedone) เป็นก้อนสีขาว ๆ และมีขนคุดอยู่ข้างใน ดังนั้นผู้ที่มีผิวมันหรือมีบางบริเวณของผิวที่มันมักจะเกิดสิวเสี้ยนได้ง่าย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดสิวเสี้ยน

ปัจจัยภายในร่างกาย

1. ฮอร์โมนเพศระบบต่อมไร้ท่อ และระบบการเผาผลาญภายในร่างกายถูกรบกวน ทำให้เกิดการกระตุ้นต่อมไขมัน ให้มีการทำงานมากขึ้น จึงทำให้มีการผลิตไขมันออกมามากขึ้น ทำให้เกิดสิวเสี้ยนได้

2. การผลัดตัวที่ผิดปกติของเซลล์ผิวหนัง มักพบในคนที่มีผิวมันและพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

ปัจจัยภายนอก

1.ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว หรือการรบกวนผิวมากจนเกินไป เช่น ขัด เช็ด ถู จนทำให้รากของขนแตกออกจากกัน เกิดเป็นขนหลายเส้นอยู่ด้านในรูขุมขน เกาะตัวกันเป็นสิวเสี้ยนในที่สุด

2. การล้างหน้าไม่สะอาด ล้างเครื่องสำอางออกไม่หมด ทำให้คราบสิ่งสกปรกตกค้างบนผิว จนเกิดการสะสมกลายเป็นสิวเสี้ยนในรูขุมขน

3. การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ของมัน ของทอด อาหารรสจัดเป็นประจำ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสิวเสี้ยนได้

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีการรักษาสิวเสี้ยนให้หายขาดอย่างถาวร แต่สามารถลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดสิวเสี้ยนได้ ร่วมกับการรักษาปัญหาอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยลดปัญหาสิวเสี้ยนกวนใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ


กดสิว | รักษาสิว เอกมัย | กดสิว เอกมัย | รักษาสิว พระโขนง |  กดสิว พระโขนง | รักษาสิว อ่อนนุช |  กดสิว อ่อนนุช | รักษาสิว อุดมสุข | กดสิว อุดมสุข | รักษาสิว บางนา | กดสิว บางนา